เมนู

ศาลาแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์
ประชุมพร้อมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดทราบกาลอันควร ใน
บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา


[178] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลา
ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้งขึ้น
ในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่น
นั้น ๆ ให้อันตรธานสงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ
โคนไม้ก็ตาม อยู่ในสถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้า
สู่กรรมฐาน ภิกษุนั้น ย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกว่าหายใจออกยาว เมื่อ
หายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจ
ออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
ระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้ง
ซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขาร
หายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำ-
เหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิต
สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำ
เหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำหนียกว่า เราจักจิตไว้มั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิต
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น
วิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
สำหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏิ-
นิสสัคคะหายใจออก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข
และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปไค้โดยฉับพลัน

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท


[179] ลำคับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกัน
และกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็ไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กล่าวอย่างนี้ว่า
พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของภิกษุเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้
ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกัน
ให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ พูดอย่างนี้ว่า พ่อคุณ
ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้เล่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดย
ที่แท้ การกระทำของภิกษุเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของผู้ที่
ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของตนบางพวกผู้เลื่อมใสแล้ว ครั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น โดยอเนกปริยายแล้ว จึงทรงติโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความ
เป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ทรงสรรเสริญคุณแห่ง
ความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความเป็นคนมักน้อย ความ
เป็นคนสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม